วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของเศรษฐศาสตร์

ความหมายของเศรษฐศาสตร์
คำว่า เศรษฐศาสตร์มีผู้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- เศรษฐศาสตร์ เป็นความรู้เกี่ยวกับความพยายามของมนุษย์ เพื่อได้มาซึ่งสิ่งของและบริการสำหรับใช้ในการเลี้ยงชีพ เพื่อความคงอยู่ในโลกที่มีอารยธรรม
- เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงวิธีการที่ระบบเศรษฐกิจผลิตสิ่งของและบริการเพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ และจำแนกแจกจ่ายสิ่งของและบริการเหล่านี้ไปยังบุคคลที่ต้องการ
- เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อการดำรงชีวิตโดยศึกษาเป็นหน่วยย่อยหรือส่วนรวมของสังคมว่าหารายได้มาอย่างไรและจะใช้จ่ายไปอย่างไร
- เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่มีอยู่อย่างนับไม่ถ้วน
- เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการที่มนุษย์และสังคมจะโดยมีการใช้เงินหรือไม่ก็ตามเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีจำกัดซึ่งอาจนำทรัพยากรนี้ไปใช้ในทางอื่นได้หลายทาง ผลิตสินค้าต่าง ๆ เป็นเวลาต่อเนื่องกันและจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าเหล่านั้นไปยังประชาชนทั่วไป และกลุ่มชนในสังคมเพื่อการบริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต
จะเห็นได้ว่าความหมายของเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นแตกต่างกันออกไปแล้วแต่จะมองในแง่ใด อย่างไรก็ตามพอสรุปสาระสำคัญได้ว่า เศรษฐศาสตร์ คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการที่มนุษย์และสังคมเลือกใช้วิธีการในการนำเอาทรัพยากรการผลิตซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดมาผลิตสินค้าและบริการเพื่อบำบัดความต้องการและหาวิถีทางที่จะจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการที่ผลิตไปยังประชาชนทั่วไป
ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ครอบครัว
เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การที่สังคมจะพัฒนาได้นั้น ต้องอาศัยครอบครัวและมนุษย์ซึ่งเป็นสมาชิกของครอบครัว การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ครอบครัวจะช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักตัดสินใจในการเลือกซื้อสิ่งของและบริการที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต รู้จักวิธีการออมและการลงทุนในลักษณะต่างๆ รู้ภาวะเศรษฐกิจของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงและใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
ขอบข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์
วิชาเศรษฐศาสตร์มีขอบข่ายในเรื่องของการผลิต การบริโภค การแบ่งสรร การแลกเปลี่ยน เพื่อวัตถุประสงค์ปลายทางคือ การกินดีอยู่ดี
ความรู้เบื้องต้นในการศึกษาเศรษฐศาสตร์
ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ควรมีความรู้เบื้องต้นดังต่อไปนี้
1.            ความต้องการ
ความต้องการ เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดวิชาเศรษฐศาสตร์ และปัญหา
รากฐานทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้นด้วยเพราะความต้องการของคนเรามีอยู่มากมาย แต่สิ่งที่จะนำมาบำบัดความต้องการตามธรรมชาติได้นั้นมีอยู่อย่างจำกัด ด้วยเหตุที่ความต้องการของคนเรากับสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่สมดุลกัน จึงจำเป็นต้องคิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาให้พอกับความต้องการ เมื่อสร้างแล้วก็ต้องหาวิธีแจกจ่ายออกไปเพื่อสนองความต้องการ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้เกิดปัญหาในด้านการผลิต การขนส่ง การค้า การเงิน การธนาคาร และอื่น ๆ อีกมากมายตามมา ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวเศรษฐศาสตร์จะมีส่วนเข้าร่วมในการแก้ปัญหา ฉะนั้นในขั้นแรกควรได้รู้ลักษณะของความต้องการก่อน ในที่นี้ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น
1.1 ความต้องการโดยทั่วไปไม่มีที่สิ้นสุด ในสมัยโบราณคนเรามีความต้องการเพียงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค แต่ความเปลี่ยนแปลงของสังคมในเศรษฐกิจ ทำให้มนุษย์มีความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่น ต้องการเสื้อผ้าที่ทันสมัย บ้านที่สวยงาม ความต้องการเหล่านี้เมื่อได้มาแล้ว ก็ไม่สิ้นสุด และเกิดความต้องการอื่นๆอีกต่อไป
1.2 ความต้องการเฉพาะอย่าง แม้ว่าความต้องการโดยทั่วไปจะไม่มีที่สิ้นสุด แต่ความต้องการเฉพาะอย่าง ย่อมมีที่สิ้นสุดได้เสมอ เช่น เมื่อเกิดความหิวก็ย่อมต้องการอาหาร และเมื่อได้รับประทานอิ่มแล้ว ความต้องการก็จะหมดไป
1.3 ความต้องการที่อาจทดแทนกันได้ หมายความว่า เมื่อเราต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว ไม่มีโอกาสที่จะได้สิ่งนั้น เราอาจเลือกหาสิ่งอื่นมาทดแทนเพื่อสนองความต้องการ เช่น เมื่อเราหิวข้าวแต่ไม่มีข้าว เราอาจรับประทานก๋วยเตี๋ยวแทนได้
1.4 ความต้องการที่อาจกลายเป็นนิสัยได้ เมื่อเราต้องการสิ่งใด และสามารถหาสิ่งเหล่านั้นมาสนองความต้องการได้ทุกครั้งไป ในที่สุดจะกลายเป็นนิสัยเลิกไม่ได้ เช่น ผู้ที่ติดกาแฟ เป็นต้น
1.5 ความต้องการที่มีส่วนเกี่ยวพันกัน ความต้องการประเภทนี้ แยกออกจากกันได้ยาก เพราะเป็นส่วนประกอบของกันและกัน เช่น ถ้าต้องการปากกาหมึกซึม ก็ต้องการน้ำหมึกด้วยเป็นต้น

เศรษฐศาสตร์คืออะไร

เศรษฐศาสตร์คืออะไร

เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาการแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์ ได้ก่อตัวและมีพัฒนาการต่อเนื่อง
จนมีสถานภาพเป็น ศาสตร์นับตั้งแต่มีการตีพิมพ์ตำ ราทางเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของโลก ซึ่งมี
ชื่อค่อนข้างยาวว่า An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of the Nation เมื่อ
ค.ศ.1776 ผู้เขียนเป็นชาวอังกฤษ ชื่อ อดัม สมิธ (Adam Smith) ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่ง
วิชาเศรษฐศาสตร์ระดับสากล และนับจากนั้นเป็นต้นมา การศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ ก็ได้ขยายตัว
และครอบคลุมเนื้อหาอย่างกว้างขวางมากขึ้นเรื่อย ๆ
           คำ นิยามอย่างสั้นที่สุดที่จะแนะนำ ให้รู้จักกับ เศรษฐศาสตร์ มีดังนี้
           เศรษฐศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเลือกหนทางในการใช้ทรัพยากรการผลิต
อันมีอยูจ่ ำ กัด สำ หรับการผลิตสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
           จากคำ อธิบายข้างต้น มีคำ สำ คัญที่ควรอธิบายขยายความอยู่ 4 คำ คือ
                (1) การเลือก
                (2) ทรัพยากรการผลิต
                (3) การมีอยู่จำ กัด
                (4) สินค้าและบริการ
         เหตุที่ต้องมีการเลือก” (choice) เพราะทรัพยากรต่าง ๆ สามารถนำ ไปใช้ประโยชน์ได้
หลายทาง ขณะเดียวกัน ความไม่สมดุลระหว่างความต้องการที่ไม่มีขีดจำ กัดของมนุษย์กับ
ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่จำ กัด ทำ ให้ความต้องการบางส่วนไม่สามารถจะบรรลุผลได้ เราจึงต้อง
เลือกหนทางในการใช้ทรัพยากรอันมีจำ กัดไปในทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือให้ความพอ
ใจมากที่สุด การเลือกดังกล่าวนี้เป็นพฤติกรรมเชิงเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานที่ต้องเผชิญอยู่ทุกเมื่อ
เชื่อวัน นับตั้งแต่ระดับบุคคล กลุ่มบุคคล ไปจนถึงระดับประเทศชาติ ในระดับบุคคลหรือกลุ่ม
บุคคล รายได้ที่มีจำ กัดทำ ให้ไม่สามารถใช้จ่ายได้ตามใจชอบ เมื่อมีสินค้าที่อยากได้พร้อมกันหลาย
อย่าง บุคคลจึงต้องตัดสินใจเลือกซื้อเฉพาะสินค้าที่จะให้ประโยชน์สูงสุด ในระดับประเทศชาติ จำ
เป็นต้องตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีจำ กัดไปในทางที่จะทำ ให้ประชาชนโดยส่วนรวมได้รับ
ประโยชน์สูงสุดเช่นกัน
           ดังนั้นการเลือกจึงเป็น เงาของเศรษฐศาสตร์ สิ่งใดที่มีประเด็นเกี่ยวกับการเลือกใช้
ซึ่งทรัพยากรการผลิต สิ่งนั้นย่อมเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ โดยนัยตรงข้าม หากมีประกาสิต
กำหนดการใช้ทรัพยากรไว้ตายตัว เศรษฐศาสตร์ก็จะไม่มีบทบาทในเรื่องนั้น
           คำว่า ทรัพยากรการผลิต” (productive resources) หมายถึง ทรัพยากรที่นำ มาผลิต
สินค้าและบริการ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปัจจัยการผลิต (factors of production) แบ่งเป็น 4 ประเภท
คือ ที่ดิน (land) แรงงาน (labor) ทุน (capital) และผู้ประกอบการ (entrepreneur)
        ก. ที่ดิน ได้แก่ที่ดินรวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์นํ้า ความ
อุดมสมบูรณ์ของที่ดิน ปริมาณนํ้าฝนและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีอยู่
ตามธรรมชาติ มนุษย์สร้างขึ้นไม่ได้ แต่สามารถปรับปรุงคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติได้บ้าง
เช่น ปรับปรุงที่ดินให้อุดมสมบูรณ์ขึ้น เป็นต้น ผลตอบแทนจากการใช้ที่ดินเรียกว่า ค่าเช่า (rent)
       ข. แรงงาน เป็นทรัพยากรมนุษย์ (human resource) ได้แก่ สติปัญญา ความรู้ ความ
คิด แรงกายและแรงใจที่มนุษย์ทุ่มเทให้แก่การผลิตสินค้าและบริการ โดยทั่วไปมีการแบ่งแรงงาน
เป็น 3 ประเภท คือ แรงงานฝีมือ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ วิศวกร และแพทย์ เป็นต้น แรง
งานกึ่งฝีมือ เช่น ช่างไม้ ช่างเทคนิค พนักงานเสมียน คนคุมเครื่องจักรในโรงงาน เป็นต้น และแรง
งานไร้ฝีมือ เช่น กรรมกรแบกหาม นักการภารโรง คนยาม เป็นต้น ผลตอบแทนของแรงงานเรียก
ว่า ค่าจ้างและเงินเดือน (wage and salary) อนึ่ง แรงงานสัตว์ไม่ถือเป็นปัจจัยผลิตประเภทแรง
งาน แต่อนุโลมถือเป็นทุน
       ค. ทุน คือเครื่องจักรเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ในการ
ผลิตสินค้าและบริการ ทุนหรือสินค้าทุน หรือสินทรัพย์ประเภททุน (capital goods) แบ่งเป็น 2
ประเภท คือ สิ่งก่อสร้าง (construction) และเครื่องจักรอุปกรณ์การผลิต (equipment)
การลงทุน (investment) หมายถึงการใช้จ่ายในการจัดหาเพิ่มพูนสินค้าทุน โดยมีวัตถุ
ประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ส่วนเงินทุน (money capital) นั้น นักเศรษฐศาสตร์ถือว่าเป็นเพียงสื่อกลางที่นำ มาซึ่งสิน
ทรัพย์ประเภททุน สินทรัพย์ประเภททุนย่อมสะท้อนความเป็นจริงทางเศรษฐกิจยิ่งกว่าจำ นวนเงิน
ทุน เงินทุนจำ นวนเดียวกันใช้จัดหาสินค้าทุนได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนั้น สินค้า
ทุนจึงมีความสำ คัญในเชิงเศรษฐกิจมากกว่าเงินทุน อนึ่ง เนื่องจากการวัดผลตอบแทนจากปัจจัย
ทุนโดยตรงมีความยุ่งยาก เราจึงอนุโลมให้ใช้ผลตอบแทนของเงินทุน อันได้แก่อัตราดอกเบี้ย
(interest) เป็นผลตอบแทนของปัจจัยทุนด้วย
       ง. ผู้ประกอบการ (entrepreneur) คือ ผูท้ ำ หน้าที่รวบรวมปัจจัยการผลิต 3 ประเภทที่
กล่าวมาข้างต้น เพื่อทำ การผลิตสินค้าและบริการ ค่าตอบแทนของผู้ประกอบการเรียกว่ากำไร
(profit) ในบรรดาปัจจัยการผลิตทั้ง 4 ประเภท ผู้ประกอบการนับเป็นปัจจัยการผลิตที่มีความ
สำ คัญมากที่สุด แม้ว่าจะมีปัจจัยการผลิต 3 ประเภทแรกมากมายก็ตาม การผลิตจะไม่อาจเกิด
ขึ้นหากขาดผู้ประกอบการ
               ในทางเศรษฐศาสตร์ต้นทุนการผลิต คือ ผลรวมค่าตอบแทนปัจจัยการผลิตทั้งหมด
               คำว่า การมีอยู่จำ กัด” (scarcity) ให้คำ จำ กัดความได้ 2 แบบ (1) คำ จำ กัดความเชิง
สัมบูรณ์ (absolute definition) คือพิจารณาจากทรัพยากรการผลิตทั้งหมดที่มีอยู่ ซึ่งอาจมองได้
หลายระดับ หากมองในระดับโลก ทรัพยากรการผลิตทุกอย่างในโลกล้วนมีอยู่อย่างจำ กัด ไม่ว่า
จะเป็นกำ ลังแรงงาน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และเครื่องจักรต่าง ๆ ทรัพยากรเหล่านี้ทั่วทั้งโลกมี
อยูเ่ ทา่ ไรก็เทา่ นั้น เพิ่มอีกไม่ได้ หากประเทศใดมีเพิ่มขึ้น โดยมากก็เป็นเพียงการเคลื่อนย้ายมา
จากประเทศอื่น ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศ หรือการเคลื่อนย้ายปัจจัยการ
ผลิตอื่น ๆ ไปทำ การผลิตร่วมกับที่ดินของประเทศอื่น โดยการเช่าหรือซื้อที่ดินในต่างประเทศทำ
การผลิต หากมองในระดับประเทศ การมีอยู่จำ กัดปรากฏขึ้นเมื่อบุคคลหนึ่งครอบครอง
ทรัพยากรการผลิตมากขึ้น ก็จะมีทรัพยากรการผลิตเหลือน้อยลงสำ หรับคนอื่น ๆ ในสังคม (2) คำ
จำ กัดความเชิงสัมพัทธ์ (relative definition) เป็นการพิจารณาอุปทานของทรัพยากรการผลิตเมื่อ
เทียบกับอุปสงค์หรือความต้องการทางวัตถุอันไม่จำ กัด ฉะนั้น ไม่ว่าจะมีทรัพยากรการผลิต
มากเท่าใดก็ตาม เมื่อนำ ทรัพยากรเหล่านี้ไปใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ ก็ยังไม่สามารถสนอง
ความต้องการอันไม่จำ กัดของมนุษย์ได้
          ความจำกัดนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกระดับสังคมและเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และ
ในอนาคตการมีอยู่จำ กัดคงจะปรากฎชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อทรัพยากรส่วนหนึ่งถูกใช้หมดไป ส่วนที่
เหลือมีน้อยลง อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์นี้จะไม่เกิดขึ้น หากมีการค้นพบวิทยาการใหม่ ๆ ใน
ผลิตที่สามารถประหยัดทรัพยากรหรือสร้างทรัพยากรใหม่ทดแทนทรัพยากรเดิมที่หมดไป
            ได้กล่าวพาดพิงในข้อความข้างต้นว่า ความต้องการทางวัตถุอันไม่จำ กัด” (unlimited
wants in materials) ในทางศาสนาพุทธมีคำ เรียกมนุษย์ว่า ปุถุชนซึ่งหมายถึงคนที่มีความโลภ
โกรธ หลง คำ ว่า โลภนี้อาจอนุโลมให้มีความหมายใกล้เคียงกับคำ ว่า มีความต้องการไม่จำกัด
กล่าวคือ เมื่อได้มาอย่างหนึ่งก็อยากได้อย่างอื่น เป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด หากไปถาม
คนยากจนว่าในชีวิตปรารถนาอะไร คำ ตอบมักจะเป็นว่าขอให้มีอาหารรับประทานครบ 3 มื้อ หรือ
มีปัจจัย 4 ครบถ้วน หากถามคำ ถามเดียวกันกับผู้มีรายได้ปานกลาง คำ ตอบมักเป็นว่านอกจากมี
ปัจจัย 4 ครบถ้วนแล้วยังต้องมีคุณภาพที่ดี เช่น อาหารต้องอร่อยถูกปาก เสื้อผ้าต้องตามสมัย
นิยม ในบ้านขอมีเครื่องปรับอากาศ มีตู้เย็น โทรทัศน์สี เป็นต้น และหากถามมหาเศรษฐีว่า
ปรารถนาอะไรในชีวิต คำ ตอบก็คงจะเป็นว่าอยากอยู่ในตำ แหน่งคนรวยที่สุด หรืออยากมีชื่อเสียง
เกียรติยศโด่งดังนอกเหนือจากวัตถุสมบัติที่มีมากมายอยู่แล้ว กล่าวโดยสรุป สำ หรับมนุษย์ปุถุชน
มักจะไม่มีคำ ตอบว่าพอแล้ว หยุดแล้ว ไม่ปรารถนาอะไรทั้งสิ้นแล้ว
            คำว่า สินค้าและบริการ” (goods and services) คือสิ่งที่ได้จากการทำ งานร่วมกันของ
ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ เป็นสิ่งที่มีอรรถประโยชน์ (utility) มากกว่าศูนย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท (1) สิน
ค้าและบริการขั้นกลาง (intermediate goods and services) เป็นสินค้าที่มีการซื้อขายเพื่อนำ ไป
ใช้เป็นปัจจัยการผลิต เช่น อาหารสัตว์ วัสดุก่อสร้าง รถบรรทุกสิบล้อ เป็นต้น และ (2) สินค้า
และบริการขั้นสุดท้าย (final goods and services) เป็นสินค้าที่มีการซื้อขายเพื่อนำ ไปใช้อุปโภค
และบริโภค ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์เหล็ก โรงงานถลุงเหล็กนำ สินแร่เหล็กมาถลุงและทำ เป็นแท่ง
เหล็ก จากนั้นรีดเป็นแผ่นเหล็ก ใช้แผ่นเหล็กขึ้นรูปเป็นตัวถังรถ โรงงานประกอบรถยนต์ใส่ชิ้น
ส่วนต่าง ๆ เข้ากับตัวถังรถ สำ เร็จออกมาเป็นรถยนต์ จะเห็นว่าแท่งเหล็ก แผ่นเหล็ก โครงตัวถังรถ
เป็นสินค้าขั้นกลาง ส่วนรถยนต์อาจถือเป็นสินค้าขั้นกลางถ้าหน่วยผลิตซื้อไปใช้งาน และถือเป็น
สินค้าขั้นสุดท้ายถ้าครัวเรือนซื้อไปใช้ จะเห็นได้ว่าสินค้าหรือบริการอย่างเดียวกันอาจเป็นได้ทั้งสิน
ค้าขั้นกลางและสินค้าขั้นสุดท้าย ทั้งนี้พิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการนำ ไปใช้ประโยชน์เป็น
สำ คัญ
                 ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ ได้แบ่งสินค้าออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เศรษฐทรัพย์
(economic goods) และสินค้าไร้ราคา (free goods) เศรษฐศาสตร์ศึกษาเฉพาะสินค้าที่เป็น
เศรษฐทรัพย์เท่านั้น
                     ก. เศรษฐทรัพย์ คือสินค้าที่มีต้นทุน ดังนั้นจึงมีราคามากกว่าศูนย์ โดยปกติ
ผู้บริโภคจะเป็นผู้จ่ายค่าสินค้าโดยตรง แต่ในบางกรณี ผู้บริโภคกับผู้จ่ายค่าสินค้าอาจจะเป็น
คนละคน ซึ่งได้แก่ เศรษฐทรัพย์ที่ได้จาการบริจาค หรือจากการให้โดยเสน่หา หรือจากบริการสวัส
ดิการของรัฐ ซึ่งเป็นเศรษฐทรัพย์ที่ได้เปล่า จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สินค้าให้เปล่า” (ซึ่งไม่ใช่สินค้าไร้
ราคา)
                     ข. สินค้าไร้ราคา หมายถึงสินค้าและบริการที่ไม่มีต้นทุน จึงไม่มีราคาที่ต้องจ่าย ตัวอย่าง
ของสินค้าไร้ราคา ได้แก่ สายลม แสงแดด นํ้าฝน อากาศในบรรยากาศ นํ้าทะเล และนํ้าในแม่นํ้า
ลำ คลอง

------------